เท้ายายม่อม (พืช)
เท้ายายม่อม (พืช)

เท้ายายม่อม (พืช)

ระวังสับสนกับ ไม้เท้ายายม่อมเท้ายายม่อม[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tacca leontopetaloides) เป็นพืชในวงศ์ Taccaceae เป็นพืชที่มีหัว มีใบ 1–3 ใบ แต่ละใบจักเป็นสามแฉก เว้าแบบขนนก ดอกเป็นช่อยาว แต่ละช่อมีดอกย่อย 20–40 ดอก ผลกลม หัวของพืชชนิดนี้นำไปทำแป้งที่เรียกแป้งเท้ายายม่อม พืชชนิดนี้เป็นพืชท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ออสเตรเลียเหนือ, นิวกินี, ซามัว, หมู่เกาะไมโครนีเซีย และฟีจี[1] และมีการแพร่กระจายไปในหมู่เกาะแปซิฟิกเนื่องมาจากการอพยพของคน ชื่อสามัญของพืชชนิดนี้ ได้แก่ Polynesian Arrowroot (ภาษาอังกฤษ), Pia (ฮาวาย, เฟรนช์พอลินีเชีย, นีวเว และหมู่เกาะคุก), Masoa (ซามัว), Mahoaʻa (ตองงา), Yabia (ฟีจี) Gapgap (กวม) และ Taka (อินโดนีเซีย)[3]เท้ายายม่อมเป็นไม้ล้มลุกอายุยืน ไม่มีลำต้น เหง้าใต้ดินเป็นหัว กลมแบนหรือรีกว้าง เปลือกหัวบาง ผิวเรียบ เมื่ออ่อนสีขาว แก่แล้วเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล เนื้อหัวสีขาว ฉ่ำน้ำเล็กน้อย ดอกสีเหลืองหรือเขียวแกมม่วงเข้ม ผลสีส้มอ่อน มีเมล็ดมาก เนื้อผลฟ่าม ๆ เมล็ดแบน คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจายพันธุ์ตั้งแต่แอฟริกา เอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนียหัวสดรับประทานไม่ได้ มีรสขม แต่สามารถสกัดแป้งมาใช้ประโยชน์ได้ แป้งที่ได้ใช้ทำขนมปัง พุดดิ้งและขนมได้หลายชนิด ในฟีจีนำแป้งที่ยังไม่ได้ตากแห้งห่อใบไม้นำไปฝังดิน ปล่อยให้เกิดการหมักก่อนรับประทาน ในซามัวใช้แป้งสดเป็นกาว ในกาบองรับประทานผล ใบรับประทานเป็นผัก ก้านใบและก้านดอกให้เส้นใยใช้ทำหมวกและอุปกรณ์ตกเบ็ด หัวและแป้งใช้รักษาโรคบิดและอาการบวม เคยเป็นอาหารหลักในฮาวาย, ตาฮีตี และฟีจี แต่ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยมันสำปะหลัง รสขมในหัวเกิดจากเบตาซิโตสเตอรอล อัลคาลอยด์ ซาโปนิน หัวอ่อนรสขมมากกว่าหัวแก่